5 สถาปัตยกรรมอินเดีย งดงาม น่าอัศจรรย์

สถาปัตยกรรมอินเดีย-จัดอันดับ-alloveraround-image1

สถาปัตยกรรมอินเดีย หากพูดถึงประเทศอินเดีย หลายคนคงนักถึง ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานความรักที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นมรดกโลก แต่ในดินแดนแห่งนี้ยังมีสถาปัตยกรรมที่งดงามอีกลายแห่ง

สถาปัตยกรรมอินเดีย 5 อันดับ ที่สวยงาม น่าอัศจรรย์

1. city palace พระราชวังหลวงแห่งชัยปุระ

นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเมืองชัยปุระ ต้องไม่พลาดชมความงามของพระราชวังหลวง หรือ city palace ซึ่งเป็นที่ประทับของมหาราชา แห่งเมืองชัยปุระ โดยช่วงเริ่มก่อสร้างพระราชวัง เป็นช่วงที่ราชวงศ์โมกุน เข้ามามีอิทธิพล จึงสร้างพระราชวังแบบศิลปะผสมผสาน ระหว่าง ราชปุด กับ โมกุน มีเอกลักษณืคือโดมขนาดใหญ่ และทางเข้าพระราชวังที่เป็นหลังคาทรงโค้ง อ่อนช้อน โดนเด่นด้วยสีเหลือง ชมพู งานแกะสลัก ผาผนัง และซุ้มประตูที่เป็นตัวแทน 4 ฤดู คือ ประตูดอกบัว แทนฤดูร้อน ประตูกุหลาบ แทนฤดูหนาว ประตูสีเขียวแทนฤดูใบไม้ผลิ และประตูนกยูงแทนฤดูฝน

2.พระราชวังแห่งสายลม ฮาวา มาฮาล

หนึ่งในพระราชวังแห่งชัยปุระ สร้างในคริตศักราช 1799 จากหินทรายสีชมพู และสีแดง ศิลปะแบบราชปุด ถอดแบบมาจากทรงมงกุฎของพระกฤาณะ เทพในศาสนาฮินดู โดนสถาปณิกได้ออกแบบให้ด้านหน้าคล้ายรังผึ้งสูง 5 ชั้น ประกอบด้วยหน้าต่างขนาดเล็ก ฉลุลายงดงาม เป็นช่องลมจำนวน 953 บาน เพื่อให้บรรดาหญิงสูงศักดิมองออกมานอกวังเพื่อชม โดยคนที่อยู่นอกวังจะไม่สามารถมองเห็นสตรีเหล่านั้นได้ เนื่องจากต้องคลุมหน้า

3.ป้อมเมห์รานการห์ แห่งนครสีฟ้า

จอชปู แห่งรัฐราชาสถานคือ นครสีฟ้าที่จะทำให้ชุ่มชื่นสดใส เมืองรองจากชัยปุระ ชาวเมืองต่างพากันทาบ้านสีฟ้า สดใส เนื่องจากเมื่อก่อนการทาสีฟ้าจะทำให้บ้านเย็นลง เนื่องจากอยู่ในทะเลทราย และการใช้สีฟ้าก็เป็นสีแทนวรรณะพารหมณ์ มีป้อมเมห์รานการห์ ตั้งตระหง่านอายุกว่า  500 ปี สร้างจากหินทรายสีน้ำตาลแดง เกาะสลัก ภายในมีจิตกรรมฝาผนัง ท้องพระโรงขนาดใหญ่ ที่จัดแสดงอาวุธโบราณในปัจจุบัน

4.วิหารทองคำกลางน้ำแห่งเมืองศักดิ์สิทธิ์

เมืองอมฤสา รับปันจะ เปรียบได้กับเมืองหลวงของผู้นับถือศาสนาซิกสื เพราะเป็นที่ตั้งของมหาวิหารทองคำกลางน้ำ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาซิกส์ทั่วโลก แปลว่าที่สถิตย์ของพระผู้เป็นเจ้า เริ่มก่อสร้างปี 1570 เพื่อเป็นที่รวมตัวประกอบศานกิจ ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ฮินดูผสมมุสลิม สร้างจากหินอ่อน แกะสลักสวยงาม ประตูเข้าออก 4 ทิศ เป็นสัญลักษณ์ของการไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพศ ตระกูล

5.ถ้ำอชันตา

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อ 1983 เพราะความสวยงามของสถาปัตยกรรมที่สร้างในสมัยก่อนของบรรบุรุษ สร้างขึ้นเมื่อ 300 ปี ก่อนคริตกาลถือเป้นวัดถ้ำที่เก่าแก่และงดงามที่สุดในโลก สร้างโดยพระภิกษุที่ต้องการหาที่สงบเพื่อทำกรรมฐาน การสร้างใช้วิธีเจาะเข้าไปในภูเขาทั้งลูก กว่า 30 ถ้ำเรียงตัวในลักษณะโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว แบ่งเป็นห้องต่างๆ ทั้งกุฏิ โบสถ์ วิหารขนาดใหญ่ มีการแกะสลักหินอย่างงดงาม

#alloveraround #5 อันดับ #สถาปัตยกรรมอินเดีย #ประเทศอินเดีย

ขอบคุณภาพจาก

Facebook
Twitter
Pinterest
Reddit